กระบวนการเก็บ Log โดย บจก.อีซี่โซน
ความเป็นมา
ตามเอกสาร พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/010/24.PDF) สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อ เดือน ธันวาคม 2559 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค. 2560
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 และ 2560 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ Log และการเปลี่ยนแปลง พรบ. 2550 : มาตรา 18 ข้อย่อยที่ 2 และ 3 กล่าวเกี่ยวกับการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ว่า
สามารถเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ พรบ. 2550 : มาตราที่ 26 กล่าวว่า
ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
พรบ. 2560 : มีจุดเดียวที่แก้ไขของเดิมคือมาตราที่ 17 ให้ยกเลิกมาตราที่ 26 ของ พรบ. 50 และให้ใช้ความว่า “มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินสองปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้”
สรุปเนื้อหาก็คือว่าปกติผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลทางจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และกรณีพิเศษเจ้าหน้าที่สามารถสั่งให้เก็บข้อมูลส่วนนั้นไว้ได้นานที่สุดคือ 2 ปี หากปฏิบัติไม่ได้อาจมีโทษสูงสุดถึง 5 แสนบาทนั่นเอง นี่คือข้อความกฏหมายที่เราต้องปฏิบัตตาม
ที่มา https://www.techtalkthai.com/softnix-logger-comply-with-thai-computer-law-2560/
การจัดเก็บ
การ Download Log
การเปิด Log